Mango Solar

Let the Sun do the work!

Mango Solar

สินค้า

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ มี 3 แบบดังรูป

Off grid

Off grid

Item Module Description
1 Solar Panel Poly / Mono Solar Panel
2 Solar Charge Controller 96V 50A
3 Solar Battery 12V 150Ah
4 Off Grid Inverter DC 96V, AC 110/220/230V
5 DC distribution Box 4 input, 1 output
6 Mounting Structure Customized for used panels
7 MC4 Connector Rated voltage: 1000V
8 Cable PV Cable

ราคา บาท/ชุด

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Off Grid 1 ชุดประกอบด้วย

Item 1. แผงโซลาร์เซลล์ คุณภาพสูง เกรดA+ มาตรฐานสากล ทั้งแบบ โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) และ โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) ออกแบบอย่างพิถีพิถัน และควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด รับประกันสินค้า 10 ปี และรับประกันใช้งานได้ 25 ปี

Off grid

ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด 17%

เคลือบผิวด้วยสารต่อต้านการสะท้อนแสง และป้องกันคราบสกปรกและฝุ่นควัน

ผ่านกระบวนการ mechanical load resistance อย่างเข้มงวด


Item 2. เครื่องควบคุมการประจุ Charge Controller (PWM / MPPT Charger)

Off grid


Item 3. แบตเตอรี่ Battery (AGM / GEL Battery)

Off grid


Item 4. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า Off Grid Inverter

Off grid


Item 5. ตัวยึดแผงโซลาร์เซลล์ Mounting Structure

Off grid


อุปกรณ์อื่นที่จำเป็น Accessories เช่น PV / AC Cable, DC Switches, AC Breaker, AC/DC Combiner box

Off grid

Item Module Description
1 Solar Panel Poly / Mono Solar Panel
2 On Grid Inverter DC 96V, AC 110/220/230V
3 DC distribution Box 4 input, 1 output
4 Mounting Structure Customized for used panels
5 MC4 Connector Rated voltage: 1000V
6 Cable PV Cable

ราคา บาท/ชุด

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ On Grid 1 ชุดประกอบด้วย

Item 1. แผงโซลาร์เซลล์ คุณภาพสูง เกรดA+ มาตรฐานสากล ทั้งแบบ โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) และ โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) ออกแบบอย่างพิถีพิถัน และควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด รับประกันสินค้า 10 ปี และรับประกันใช้งานได้ 25 ปี

Off grid

ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด 17%

เคลือบผิวด้วยสารต่อต้านการสะท้อนแสง และป้องกันคราบสกปรกและฝุ่นควัน

ผ่านกระบวนการ mechanical load resistance อย่างเข้มงวด


Item 2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า On Grid Inverter

Off grid

คุณสมบัติ

Input Voltage from 12V to 1000V

Input Ampere 5A to 200AH

Output voltage 110/220V/380V/400V

Single phase and Three phase


Item 3. ตัวยึดแผงโซลาร์เซลล์ Mounting Structure

Off grid


อุปกรณ์อื่นที่จำเป็น Accessories เช่น PV / AC Cable, DC Switches, AC Breaker, AC/DC Combiner box

Off grid

Item Module Description
1 Solar Panel Poly / Mono Solar Panel
2 Solar Battery 12V 150Ah
3 Hybrid Inverter DC 96V, AC 110/220/230V
4 DC distribution Box 4 input, 1 output
5 Mounting Structure Customized for used panels
6 MC4 Connector Rated voltage: 1000V
7 Cable PV Cable

ราคา บาท/ชุด

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Hybrid 1 ชุดประกอบด้วย

Item 1. แผงโซลาร์เซลล์ คุณภาพสูง เกรดA+ มาตรฐานสากล ทั้งแบบ โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) และ โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) ออกแบบอย่างพิถีพิถัน และควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด รับประกันสินค้า 10 ปี และรับประกันใช้งานได้ 25 ปี

Off grid

ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด 17%

เคลือบผิวด้วยสารต่อต้านการสะท้อนแสง และป้องกันคราบสกปรกและฝุ่นควัน

ผ่านกระบวนการ mechanical load resistance อย่างเข้มงวด


Item 2. แบตเตอรี่ Battery (AGM / GEL Battery)

Off grid


Item 3. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า Hybrid Inverter

Off grid

คุณสมบัติ

Input Voltage from 12V to 1000V

Input Ampere 5A to 200AH

Output voltage 110/220V/380V/400V

Single phase and Three phase


Item 4. ตัวยึดแผงโซลาร์เซลล์ Mounting Structure

Off grid


อุปกรณ์อื่นที่จำเป็น Accessories เช่น PV / AC Cable, DC Switches, AC Breaker, AC/DC Combiner box



เลือกติดตั้ง Solar cell แบบไหนดี

การเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์ต้องคำนึงถึง ลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ ของสถานที่นั้นๆด้วย ว่ามีแสงแดดมากพอสำหรับใช้ผลิตไฟฟ้าหรือไม่ หากเป็นตามป่าเขาในที่สูง มีหมอกปกคลุมมาก มีฝนตลอดทั้งปี หรือที่มีแสงแดดน้อยก็ควรเลือกใช้แผ่นโซลาร์เซลล์ที่มีความไวในการรับแสงน้อยๆได้ดี Off grid เหมาะกับสถานที่ ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รูปแบบการใช้งานโซลาร์เซลล์มี 3 รูปแบบ ดังนี้

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบOff Grid เป็นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ชนิดผลิตไฟฟ้าใช้เอง เป็นสถานที่ ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่แล้ว การฟลิตไฟฟ้าระบบนี้ จะมีแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับกำเนิดไฟฟ้า สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าแบบ DC ที่มีแรงดันไฟฟ้าที่เท่ากัน หรือสามารถแปลงไฟฟ้า ด้วยอินเวอร์เตอร์ จากไฟกระแสตรง เป็นไฟกระแสสลับ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ตามบ้านเรือน ขนาด 220V ได้ การต่อแบบระบบนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ใช้กับบ้านพักอาศัยที่ห่างไกลผู้ผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง รวมทั้ง ประยุกต์ใช้กับในพื้นที่ ที่ไม่ต้องการลากสายไฟฟ้า เพราะมีต้นทุนเรื่องสายไฟฟ้าที่มีราคาสูงได้อีกด้วย และปัจุบัน ราคาโซล่าเซลล์ ทุกวันนี้ราคาก็ถูกกว่าเมื่อก่อนมาก

Off grid

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ On grid จะส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ จ่ายไฟให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถต่อไฟร่วมกับระบบไฟจากการไฟฟ้าได้เลย และสามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านทุกชนิดได้ตามปกติ โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่

โดยหลักการทำงานของ Inverter ที่ใช้กับระบบแบบ On grid นั้น ในเวลากลางวัน Inverter จะทำงานเมื่อมีไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ ในเวลากลางคืนไม่มีแสงอาทิตย์ ทำให้ไม่มีการผลิตไฟฟ้า ดังนั้นโวลท์ของแผงโซลาร์เซลล์จะลดลงเรื่อยๆ จนถึงเกณฑ์ที่กำหนด Inverter จะปิดตัวลงอัตโนมัติ ระบบไฟจากการไฟฟ้าถูกนำมาใช้แทนทันที

ข้อเสีย คือ Inverter ที่ใช้กับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ On grid จะทำงานเมื่อมีไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ และมีไฟจากการไฟฟ้าร่วมทั้ง 2 ทาง ดังนั้น ในเวลากลางวัน หากไฟจากการไฟฟ้าดับลง Inverter จะหยุดการทำงานไปด้วย ถึงแม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์ยังสามารถผลิตไฟได้ก็ตาม

ดังนั้นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ On grid จึงเหมาะใช้งานกับสถานที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึงอยู่แล้ว และต้องการประหยัดค่าไฟฟ้ารายเดือน โดยการใช้ไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์จะเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ขึ้นอยู่กับการออกแบบคำนวณในการติดตั้ง แต่หากใช้ไฟมากกว่าที่ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตได้ ระบบจะไปดึงไฟจากการไฟฟ้านำมาใช้ได้ตามปกติ

ongrid

Hybrid

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Hybrid จะมีแหล่งกำเนิดไฟฟ้า 2 ทาง คือ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ และ ไฟจากการไฟฟ้า ต่อไปยัง Inverter เช่นเดียวกับแบบ On grid แต่จะแตกต่างกันที่ อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านจะต่อจาก AC output ของ Inverter เท่านั้น (ไม่ต่อกับไฟจากการไฟฟ้าโดยตรง) โดยไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์จะถูกเก็บในแบตเตอรี่ จะสังเกตุได้ว่า ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Hybrid นี้จะมีข้อดีกว่า ระบบ On grid ที่มีการใช้แบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟสำรอง กรณีไฟจากการไฟฟ้าดับ ทำให้สามารถใช้ไฟได้ต่อเนื่องทั้งกลางวัน กลางคืน

ดังนั้นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Hybrid จึงเหมาะกับสถานที่สำคัญ ที่ไฟดับบ่อย หรือสถานที่ที่ใช้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Off grid แต่ยังสามารถมีไฟจากการไฟฟ้าเป็นระบบไฟสำรองได้



ทำความรู้จักกับ Solar cell

โซลาเซลล์แบ่งเป็น 3 ประเภท

1. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน (Mono crystalline Silicon Solar Cells)
แผงโซล่าเซลล์ ชนิดที่ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว ( Mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า Single crystalline (single-Si) สังเกตุค่อนข้างง่ายกว่าชนิดอื่น เพราะจะเห็นแต่ละเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ นั้น เป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยเริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก อันเนื่องมาจาก เกิดจากกระบวนการ กวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า Czochralski process จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในแผงโซล่าเซลล์

Mono crystalline Silicon Solar Cells

2. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์ชนิดแรก ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติคริสตัลไลน์ โดยในกระบวนการผลิต สามารถที่จะนำเอา ซิลิคอนเหลว มาเทใส่โมลด์ที่เป็นสี่หลี่ยมได้เลย ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นบางอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออก น้ำเงิน ไม่เข้มมาก

Polycrystalline Silicon Solar Cells

3. แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)
หลักการโดยทั่วไปของการผลิต โซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น จึงเรียก โซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ thin film ซึ่งสารฉาบที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด ชื่อเรียกของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบางจึงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-Si),Cadmium telluride (CdTe),Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS) และ Organic photovoltaic cells (OPC) ประสิทธิภาพของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบางนั้น มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ แต่สำหรับบ้านเรือนโดยทั่วไปแล้ว มีเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ที่ใช้ แผงโซล่าเซลล์ ที่เป็นแบบชนิดฟิล์มบาง

ประเภทของแผง ข้อดี ข้อเสีย
Monocrystalline Silicon Solar Cells - ประสิทธิภาพ 15-20%
- ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย
- อายุการใช้งานยาวนาน >25 ปี
- ทำงานได้ดีกว่า โพลี เมื่ออยู่ในสภาวะแสงน้อย
- แพง
- มีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้ได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดโวลต์สูงเกินไป
- ถ้าเป็นพื้นที่แดดแรงมากๆเสี่ยงต่อวงจรไหม้
Polycrystalline Silicon Solar Cells - ประสิทธิภาพ 13-16%
- ทำงานได้ดีกว่า โมโน เมื่ออยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูง
- ราคาถูกปานกลาง
Thin Film Solar Cells - ประสิทธิภาพ 7-13%
- ทำงานได้ดีกว่า เมื่ออยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูง
- ทนต่อความสกปรก วงจรไหม้
- น้ำหนักเบา
- ใช้พื้นที่ติดตั้งมาก ไม่เหมาะใช้ตามบ้านที่มีพื้นที่จำกัด

เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง จึงนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น หากต้องการนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับหรือเก็บสะสมพลังงานไว้ใช้ต่อไป จะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ อีก โดยรวมเข้าเป็นระบบที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์สำคัญๆ มีดังนี้

1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module)
ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถวหรือเป็นชุด (Solar Array) เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ โดยการต่อกันแบบอนุกรม จะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และการต่อกันแบบขนาน จะเพิ่มพลังงานไฟฟ้า หากสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ก็จะมีผลให้ปริมาณของค่าเฉลี่ยพลังงานสูงสุดในหนึ่งวันไม่เท่ากันด้วย รวมถึงอุณหภูมิก็มีผลต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากอุณหภูมิสูงขึ้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะลดลง

2. เครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller)
ทำหน้าที่ประจุกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้าสู่แบตเตอรี่ และควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ด้วย ดังนั้น การทำงานของเครื่องควบคุมการประจุ คือ เมื่อประจุกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่จนเต็มแล้ว จะหยุดหรือลดการประจุกระแสไฟฟ้า (และมักจะมีคุณสมบัติในการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า กรณีแรงดันของแบตเตอรี่ลดลงด้วย) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่เท่านั้น

3. แบตเตอรี่ (Battery)
ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ใช้เวลาที่ต้องการ เช่น เวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เวลากลางคืน หรือนำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆ แบตเตอรี่มีหลายชนิดและหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

4. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)
ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับทุกชนิด และ Modified Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ไม่มีส่วนประกอบของมอเตอร์และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็น Electronic ballast

5. ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection)
ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อฟ้าผ่า หรือเกิดการเหนี่ยวนำทำให้ความต่างศักย์สูง ในระบบทั่วไปมักไม่ใช้อุปกรณ์นี้ จะใช้สำหรับระบบขนาดใหญ่และมีความสำคัญเท่านั้น รวมถึงต้องมีระบบสายดินที่มีประสิทธิภาพด้วย



ดาวโหลดแคตตาล็อก

Hybriddownload

การติดตั้ง

พื้นที่ติดตั้งควรเป็นที่โล่ง ไม่มีเงาวัตถุสิ่งของมาบังแผงโซลาร์เซลล์ อาจอยู่บนพื้นดิน หรือบนหลังคาบ้าน ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นมาก เนื่องจากฝุ่นจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลง

ควรวางให้แผงเซลล์ มีความลาด เอียง ประมาณ 10-15 องศา จากระดับแนวนอน หันหน้า ไปทางทิศใต้ การวางแผงเซลล์ ให้มีความลาด ดังกล่าว จะช่วยให้ เซลล์รับแสง อาทิตย์ได้มากที่สุด และช่วย ระบายน้ำฝนได้รวดเร็ว



บทความ